บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล

ความรู้ทั่วไปเกียวกับจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล

ความหมายของโปรแกรมจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการกับสารสนเทศที่ได้รับ อาจจะอยู่ในรูปแบบของการจัดเก็บ การดูเเลรักษา การสืบค้น การเเสดงผล และการกำจัดสารสนเทศที่ไม่ต้องการ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ อาจอยู่ในรูปแบบของภาพนิ่ง ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว เสียง ซึ่งอาจมีแหล่งที่มาต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร สื่อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีความต้องการ หรือความจำเป็นในการใช้สารสนเทศหนึ่งๆ ในการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล มีเเนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนด้านสารสนเทศสำหรับบุคคนที่เป็นเเนวคิดใหม่ที่ต้องอาศัยทักษะหลายด้าน โดยเฉพราะอย่างยิ่งทักษะด้านการจัดการ ทั้งนี้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการงานเเละการดำรงชีวิตในยุคการเปลี่ยนเเปลงดังเช่นปัจจุบันเเนวคิดนี้เรียกว่า การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล

องค์ประกอบของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
องค์ประกอบของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างของระบบที่ใช้จัดการฐานข้อมูลเเล้ว พบว่าองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ
ส่วนรับเข้า เเบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ
ความต้องการด้านสารสนเทศของผู้ใช้
ข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ
ส่วนประมวลผล หมายถึง กลไกลที่ทำหน้าที่ในการจัดหมวดหมู่หาสถานที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลเพื่อสามารถนำออกมาใช้ได้ การจัดวิธีการเข้าถึงข้อมูล
ส่วนเเสดงผล เป็นส่วนที่มีความสำพันธ์มากระดับหนึ่ง คือ ผู้ใช้จะพึงพอใจระบบมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลลัพธ์ ความต้องการเเละวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ระบบเป็นหลัก

ประเภทของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
ประเภทของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล จำเเนกตามรูปลักษณ์เเบ่งออกได้ดังนี้
ประเภทโปรเเกรมสำรูป เช่น โปรแกรมบริหารบุคคล โปรเเกรมระบบบัญชีเงินเดือน
ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ในลักษณะใช้งานอิสระและผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์การ
ฟังก์ชันการทำงานหลัก ได้เเก่ ฟังก์ชันนัดหมาย ฟังก์ชันติดตามงาน ฟังก์ชันติดต่อสื่อสาร
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในงานสำนักงานทั่วไป เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรเเกรมเอ็กซ์เซล โปรแกรมเพาเวอร์พอยท์
ระบบนัดหมายส่วนบุคคล
เป็นโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล มีประโยชน์ดังนี้
การใช้ระบบ
เป็นระบบทีใช้งานง่าย
ระบบมีการบันทึกข้อมูลเเบบลัด
การค้นหาข้อมูล (Search) สามารถทำได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายปี และสามารถใช้ฟังก์ชั่นทำซ้ำ
หากมีกิจกรรมมากกว่าหนึ่งกิจกรรมซ้ำซ้อนในเวลาเดียวกัน ระบบจะเตือนให้ผู้ใช้ทราบเพื่อเเก้ไขปัญหา
มีสัญญานเตือนกันนัดหมาย
มีระบบช่วยจำ
ป้อนข้อความเตือนความจำเข้าสู่ระบบนัดหมายส่วนบุคคลโดยอัตโนมัติ
มีหน้าต่างเเสดงความจำเเสดงขึ้นที่หน้าจอภาพ เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพีดีเอ
ส่งข้อความเตือนความจำผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม
ระบบการติดตามงานส่วนบุคคล
ส่วนหนึ่งของโปรเเกรมการบริหารจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลที่นิยมใช้ คือ ระบบการติดตามงานส่วนบุคคล เพราะมีประโยชน์ในการติดตามเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จ ซึ่งระบบการติดตามงานส่วนบุคคลมีรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเเกรมดังนี้
ระบบติดตามงานส่วนบุคคลเป็นโปรเเกรมอรรถประโยชน์เช่นเดียวกับนาฬิกาปลุกเเละเครื่องคิดเลข
ระบบติดตามงานบุคคล หมายถึง บัญชีรายงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ มีลักษณะคล้ายสมุดจดบันทึกช่วยจำที่เป็นกกระดาษ
ระบบติดตามงานส่วนบุคคลเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการบริหารงานและเวลาของเเต่ละบุคคลโดยเฉพราะผู้มีภารกิจมาก
ปัญหาที่พบในการบริหารเวลาของตนเอง คือ ความพยายามที่จะทำงานหฃายอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง จึงต้องทำงานเเบเร่งรีบในช่วงเวลาสุดท้าย
พัฒนาการของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล

ในขณะที่ใช้ระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล หมายถึง การพัฒนาการบริหารการจัดการจากในรูปแบบของกระดาษมาใช้เป็นระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีลักษณะของการพัฒนาการ ดังนี้
ระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลในรูปแแบกระดาษที่มีมาตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ระบบสารสนเทศส่วนบุคคลในรูปเเบบคอมพิวเตอร์
ระบบการจัดการสารสนเทศของกลุ่ม
เกณฑ์การเลือกระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
การพิจารณาเป้าหมายส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับชีวิตการทำงานเเละชีวิตส่วนตัว และเป้าหมายขององค์กรรวมทั้งลักษณะ ประเภท และนโยบายหลักขององค์กร มีเกณฑ์การเลือกระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ดังนี้
ความต้องการด้านสารสนเทศ
ความต้องการระบบนัดหมายส่วนบุคคลหรือระบบนัดหมายกลุ่ม
ความต้องการระบบติดตามงานหรือไม่
ความต้องการระบบติดต่อสื่อสารในลักษณะใด
สภาพเเวดล้อมในการทำงาน
การทำงานในลักษณะคนเดียวหรือกลุ่ม
การทำงานภายในหรือภายนอกองค์กร
การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น
ความสามารถในการทำงาน
ราคา
ความยากง่ายในการทำงาน
การสนับสนุนด้านเทคนิค
การรับฟังความคิดเห็น

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์

บทที่4 การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engling

ความหมายของ Search Engine

Search Engine
คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
Search Engine
มี3ประเภท (ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล ผมสรุปได้?3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง?3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com
Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory

1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )

2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )

3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ

ประเภทที่ 3 Meta Search Engine

Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ

ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.

มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า “Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไร” นี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน.

ประเภทของ Search Engine

ประเภทของ SEARCH ENGINE
SEO
suthamasJuly 28, 20090
Search, Search Engine
ทำไมเราต้องทำความรู้จักกับประเภทของ Search Engine หากคุณเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจ นั่นหมายความว่า คุณยังไม่รู้จัก การ Search Engine ดีพอ เพราะวิธีการ และการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละ Search Engine แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

โดย Search Engine มี3ประเภทด้วกัน ซึ่งแต่ละประเภทมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วย

เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกัน ทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง3 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการ
บันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความ

นิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำ

ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ

1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็น

ของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก

2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้

เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา

และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของการทำสำเนาข้อมูล

เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots

ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com

Crawler Based Search Engine ได้แก่ Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และการจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกัน

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วย

หมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมี

การสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตาม

หมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล

เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เรา

เลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอ

ยกตัวอย่างดังนี้

ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory

1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine

หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีก

มากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ

(URL : http://www.dmoz.org )

2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุด

ในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )

3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่

ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ

ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา

HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น

ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ

ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ

ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของ
ตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมากประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.

การใช้งาน Google

วิธีการทำงานของ Google Search

เมื่อคุณนั่งลงหน้าคอมพิวเตอร์และทำการค้นหาใน Google คุณจะเห็นรายการผลลัพธ์จากทั่วทั้งเว็บเกือบจะทันที Google ค้นหาหน้าเว็บที่ตรงกับข้อความค้นหาของคุณ และกำหนดลำดับของผลการค้นหาอย่างไร

กล่าวง่ายๆ คือ คุณสามารถเปรียบการค้นหาเว็บเป็นการดูหนังสือเล่มใหญ่มากๆ ซึ่งมีดัชนีอันน่าทึ่งที่บอกให้ทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตรงไหนได้อย่างแม่นยำ เมื่อคุณทำการค้นหาโดย Google โปรแกรมของเราจะตรวจสอบดัชนีของเราเพื่อกำหนดผลการค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด ซึ่งจะส่งคืน (“แสดง”) ให้กับคุณ

ขั้นตอนหลักสามขั้นตอนในการแสดงผลการค้นหาให้แก่คุณ มีดังนี้

การรวบรวมข้อมูล: Google ทราบเกี่ยวกับไซต์ของคุณไหม เราสามารถหาเจอไหม
การจัดทำดัชนี: Google สามารถจัดทำดัชนีไซต์ของคุณได้ไหม
การแสดง: ไซต์นั้นมีเนื้อหาที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้นหาของผู้ใช้ไหม
การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ Googlebot จะค้นพบหน้าเว็บที่ใหม่และอัปเดตเพื่อเพิ่มลงในดัชนีของ Google

เราใช้ชุดคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในการดึงข้อมูล (หรือ “รวบรวมข้อมูล”) หน้าเว็บหลายพันล้านหน้าบนเว็บ โปรแกรมที่ทำการดึงข้อมูลเรียกว่า Googlebot (หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรบ็อต บ็อต หรือสไปเดอร์) Googlebot ใช้ขั้นตอนแบบอัลกอริทึม กล่าวคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะกำหนดเว็บไซต์ที่จะรวบรวมข้อมูล ความถี่ และจำนวนหน้าเว็บที่จะดึงข้อมูลจากเว็บไซต์แต่ละแห่ง

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลของเราเริ่มด้วยรายการ URL ของหน้าเว็บที่สร้างขึ้นจากขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลครั้งก่อน และเสริมด้วยข้อมูลแผนผังไซต์ที่ผู้ดูแลเว็บมีให้ เมื่อไปที่เว็บไซต์เหล่านี้แต่ละเว็บ Googlebot จะตรวจหาลิงก์ต่างๆ ในหน้าเว็บแต่ละหน้าและเพิ่มลิงก์ดังกล่าวลงในรายการหน้าเว็บที่จะรวบรวมข้อมูล จะมีการบันทึกเว็บไซต์ใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงในเว็บไซต์ที่มีอยู่ และลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ เพื่อใช้ในการอัปเดตดัชนีของ Google

Google ไม่รับค่าตอบแทนเพื่อรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ให้บ่อยขึ้น และเราแยกธุรกิจด้านการค้นหาของเราออกจากบริการ AdWords ที่สร้างรายได้

การจัดทำดัชนี
Googlebot ประมวลผลแต่ละหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะรวบรวมดัชนีขนาดใหญ่ของทุกคำที่เห็นและตำแหน่งของคำในแต่ละหน้า นอกจากนี้เรายังประมวลผลข้อมูลที่รวมอยู่ในแท็กและแอตทริบิวต์ของเนื้อหาที่สำคัญ เช่น แท็ก Title และแอตทริบิวต์ Alt Googlebot สามารถประมวลผลเนื้อหาได้หลายประเภท แต่ไม่ใช่ทุกประเภท ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถประมวลผลเนื้อหาของไฟล์สื่อสมบูรณ์หรือหน้าเว็บแบบไดนามิกบางประเภท

การแสดงผลการค้นหา
เมื่อผู้ใช้ป้อนคำค้นหา เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะค้นหาดัชนีเพื่อหาหน้าเว็บที่ตรงกัน และส่งคืนผลลัพธ์ที่เราคิดว่าเกี่ยวข้องกับผู้ใช้มากที่สุด ความเกี่ยวข้องจะพิจารณาจากปัจจัยกว่า 200 ประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพจแรงก์สำหรับหน้าเว็บที่ระบุ เพจแรงก์เป็นตัววัดความสำคัญของหน้าเว็บ โดยพิจารณาจากลิงก์ขาเข้าที่มาจากหน้าเว็บอื่นๆ กล่าวอย่างง่ายคือ แต่ละลิงก์จากเว็บไซต์อื่นที่ไปยังหน้าเว็บในเว็บไซต์ของคุณ จะเพิ่มเข้าไปใน PageRank ของเว็บไซต์ของคุณ ลิงก์ต่างๆ ไม่เท่าเทียมกันทั้งหมด Google จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการระบุลิงก์ที่เป็นสแปมและการกระทำอื่นๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อผลการค้นหา ประเภทลิงก์ที่ดีที่สุดคือลิงก์ที่มีให้ตามคุณภาพของเนื้อหาของคุณ

เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีอันดับที่สูงในหน้าผลการค้นหา สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบว่า Google สามารถรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณได้อย่างถูกต้อง หลักเกณฑ์สำหรับผู้ดูแลเว็บของเราได้สรุปแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงหลุมพรางที่พบทั่วไป และปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ของคุณให้สูงขึ้น

คุณลักษณะหรือคุณหมายถึงของ Google และ Google เติมข้อความอัตโนมัติได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาโดยการแสดงคำหลักที่เกี่ยวข้อง การสะกดผิดทั่วไป และข้อความค้นหายอดนิยม เช่นเดียวกับผลการค้นหาของ google.com คำหลักที่คุณลักษณะดังกล่าวใช้จะสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติโดยโปรแกรมรวบรวมข้อมูลเว็บและอัลกอริทึมการค้นหา เราแสดงการคาดคะเนเหล่านี้ต่อเมื่อเราคิดว่าคุณลักษณะเหล่านี้อาจประหยัดเวลาของผู้ใช้ได้ หากไซต์ได้รับอันดับที่ดีสำหรับคำหลักหนึ่งๆ นั่นก็เพราะเราได้ใช้อัลกอริทึมในการตัดสินว่าเนื้อหาของไซต์มีความเกี่ยวข้องกับข้อความค้นหาของผู้ใช้มากกว่า

เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)

Web browser คืออะไร

“Web browser คืออะไร” เป็นคำถามที่ผมยังสงสัยว่าทำไมคนยังคงถามและเรายังได้ยินบ่อยมาก ทั้งจากเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ คือถามกันเกือบทุกวัยเลยก็ว่าได้ ที่เป็นเช่นนี้ ผมเดาเอาว่า ไม่ใช่ว่าพวกเราจะไม่รู้ซะเลยที่เดียวว่า Web browser คืออะไร เพราะหลายๆท่าน (รวมทั้งผมด้วย) ต่างก็ใช้งานมันอยู่ทุกวัน อย่างน้อยทุกคนก็ต้องรู้ละว่า Web browser (เว็บบราวเซอร์) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ แต่นิยามที่แต่ละคนให้ ถึงจะไม่ผิด แต่ก็มีความหลากหลาย ไม่เหมือนกัน ไม่ครอบคลุม หรือไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ซึ่ง หลังจากได้ค้นหาและอ่านนิยามจากหลายๆ เว็บ ผมขอให้ความหมายของ Web browser ใหม่ ดังนี้
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อ สารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

Web browser คืออะไร ความหมายจากหลายๆ เว็บไซต์

ช่วงน้ำท่วม ผมอยู่ว่างๆ เลยลองค้นดูใน Google ว่ามีใครให้ความหมายหรือนิยาม “Web browser คืออะไร” ไว้อย่างไรบ้าง จากผลการค้นหาผมไม่เจอคำนิยามจากหน่วยการที่น่าจะใช้อ้างอิงได้ อย่าง กระทรวงไอซีที หรือหน่วยงานด้านภาษาต่างๆ แต่เจอในเว็บของสถานศึกษาและเว็บเกี่ยวกับไอทีอยู่พอสมควร ในที่นี้ผมขออนุญาตนำ 2-3 ความหมายที่คิดว่าน่าจะถูกต้องมาลงไว้ด้วย ดังนี้

Web browser คือ

“โปรแกรม ที่ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต (sufring the Internet) คือใช้ในการเปิด web page และอย่างอื่นอีกมาก” – http://www.vcharkarn.com/vblog/36733
“โปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web) หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser) จะเข้าใจในภาษาHTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้” – http://school.obec.go.th/pp_school/html/browser.html
“โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ” – http://www.mindphp.com + http://th.wikipedia.org

Web browser คืออะไร ความหมายที่อาจทำให้หลายคนสับสน

จากนิยามของ Web browser ที่ได้ข้างต้น รวมทั้งที่ผมได้ให้ไว้เล่นๆ ด้วย จะเห็นได้ว่ามีความหมายที่คล้ายๆ กัน คือ

Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในหน้าเว็บเพจ

อย่างไรก็ตาม จากนิยามหรือความหมายของ Web browser ที่ผมเจอในเว็บต่างๆ ผมมองว่ามี 2 ประเด็นที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัยและอาจเป็นสาเหตุให้ตีความหรือเข้าใจว่า Web browser คืออะไร แตกต่างหรือคลาดเคลื่อนกันไป คือ
การใช้คำ “สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต” ที่อาจจะทำให้หลายๆ คนเข้าใจได้ว่า อินเทอร์เน็ต ก็คือ WWW (World Wide Web) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะคำว่า WWW เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางกว่า และยังรวมเอาการใช้งานหรือหรือบริการอื่นๆ นอกจาก WWW เอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์ (e-mail) แชท (Chat) IRC และ FTP เป็นต้น
การใช้คำ “ภาษา HTML” ที่ผมว่ามันยากไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป หรือบางคนที่รู้มากขึ้นมาหน่อย ก็อาจจะสงสัยอีกว่าแล้วภาษา Java, Javascript, Asp, Php, CFM หรืออื่นๆ ล่ะมันคืออะไร ซึ่งในที่นี้ ผมขออธิบายให้เข้าใจนิดหน่อยว่า HTML คือภาษาหลักที่ Web browser ใช้แสดงผลหรือแสดงข้อมูลในหน้าเว็บเพจ ส่วนภาษาอื่นๆ นั้นคือภาษาเสริม ที่ทำให้คนเขียนเว็บจัดการข้อมูลและการแสดงผลต่างๆ ได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งในการใช้ภาษาเสริมอื่นๆ นั้น ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเพิ่มด้วย เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลแล้วแปลผลที่ได้ให้เป็นภาษาหลัก (HTML) ส่งให้ Web browser นำไปแสดงในหน้าเว็บเพจต่อไป ดังนั้น ในการเขียนเว็บไม่ว่าจะใช้ภาษาเสริมอะไรก็ตาม จะต้องใช้ร่วมกับภาษาหลัก (HTML) เสมอ และข้อมูลที่เราเห็นในหน้าเว็บเพจของทุกเว็บไซต์ก็จะถูกแสดงผลด้วยภาษาหลัก หรือ HTML เสมอด้วยเช่นกัน

Web browser คืออะไร ความหมายโดยสรุปสั้นๆ

จากนิยามของ Web browser ที่ผมได้ให้ตามความเข้าใจข้างต้น และจากการค้นหาและอ่านจากเว็บอื่นๆ ผมขอสรุปและให้นิยาม Web browser คืออะไร ดังนี้
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อ สารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

การใช้งาน Google Docs

การพิมพ์งานเป็นส่วนหนึ่งที่หลายท่านจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊ค ตั้งแต่เด็ก จนถึงวัยทำงานและจนวัยแก่ชรา สิ่งที่ใช้เป็นประจำคือการพิมพ์เอกสารหรือพิมพ์งาน โดยในอดีตหลายท่านจะต้องเสียเงินส่วนหนึ่งซื้อซอฟต์แวร์พิมพ์งาน อย่าง Microsoft Office ซึ่งจะมีโปรแกรมย่อยอย่าง Word Excel PowerPoint มาใช้ในการทำงาน หรือโปรแกรมตระกูล iWork ของ Mac เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้คุณสามารถพิมพ์งานได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องติดตั้งบนคอม ใช้ได้ตลอดไป แค่พิมพ์ผ่านทางบนเบราว์เซอร์ และผ่านแอพ ซึ่งบริการนี้เติบโตอย่างมากคือ Google Docs จาก Google นั่นเอง

รู้จัก Google Docs กันซะนิด

Google Documents หรือ Google Docs คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการพิมพ์งานทางออนไลน์ ให้เราสามารถจัดการเอกสารได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพียงแค่คุณมีบัญชี Google บัญชีเดียวก็สามารถใช้งานบริการGoogle Docs ได้ โดยปัจจุบัน Google Docs มีโปรแกรมย่อยอยู่ 4ตัว คือ Docs , Slide , Sheet , Forms

แม้ว่า Google Docs นี้แม้ดูหน้าตาและรูปแบบเหมือนทาง Microsoft Office แต่ Google Docs เป็นรายแรกที่ให้บริการ Office บนเว็บไซต์ และสามารถใช้งานได้แบบฟรีๆ ไม่ต้องซื้อซอฟต์แวร์มาติดตั้ง ไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม ใช้งานได้ทันทีบนเว็บเบราว์เซอร์ ง่ายๆเพียงเข้าที่ docs.google.com แล้วเข้าทำการ sign in แค่นี้ก็สามารถดูเอกสารที่อยู่บน Google Drive หรือ Google Docs พร้อมทั้ง สามารถสร้าง,แก้ไขเอกสาร และคลิกเปิดอ่านเอกสารได้ทันที

รวมทั้งสามารถแก้ไขเอกสารพร้อมกับเพื่อนๆ ในหน้าเอกสารเดียวกันได้ด้วย เรียกกันว่าช่วยกันพิมพ์พร้อมกับเพื่อนได้เลยแม้อยู่สถานที่กันก็ทำงานพร้อมกันได้ โดยไม่ต้องเสียเวลา save และส่งไฟล์ไปๆมาๆด้วย โดยเราจะเห็นหน้าจอเดียวกันว่า เราและเพื่อนๆกำลังพิมพ์อะไรอยู่ในเอกสารเดียวกัน รวมทั้งการแชร์เอกสารก็สะดวกโดยการส่งลิงค์ หรือแชร์กับเพื่อนๆภายในกลุ่มได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องบันทึกลงบนคอมพิวเตอร์ Harddisk  flashdrive  เลย

กว่าจะมาเป็น Google Docs

writely-google-docs

ในส่วนบริการ Docs ชื่อเดิมคือ Writely.com  ซึ่งเป็นโปรแกรมแก้ไขเอกสารออนไลน์ สร้างโดยบริษัท Upstartle เมื่อเดือนสิงหาคม ปี2005  spreadsheets-google-docsและในส่วนของ Sheet นั้น Google ก็เปิดตัว  Google Spreadsheet ที่มีคุณสมบัติเหมือนโปรแกรมตารางของ Microsoft อย่าง Excel เมื่อเดือนมิถุนายน  2006 ซึ่งแต่เดิมพัฒนาจาก บริษัท  2Web Technologies ก่อนที่ Google ซื้อมาเป็นของตัวเอง เมื่อเดือนมิถุนายน 2005

และบริการ google docs เกิดขึ้น เมื่อ Google ซื้อกิจการ Upstartle ผู้พัฒนาโปรแกรมแก้ไขเอกสารออนไลน์ Writely.com เมื่อเดือนมีนาคม 2006 แล้วมาเปลี่ยนชื่อเป็น Google Docs มาจนถึงปัจจุบัน (หากคุณพิมพ์ writely.com ตอนนี้ก็จะเข้าสู่เว็บ google docs ) และสามารถทำงานร่วมกันกับ Google Spreadsheets ได้ด้วย

เตรียมการใช้งาน Google Docs

google-docs-device

สิ่งที่ต้องมีสำหรับผู้ใช้ Google Docs คือ

  • ต้องมีบัญชี Google Accounts หากไม่มีก็สมัครผ่านทาง gmail.com หรือบนมือถือ Android ก็สมัครได้เช่นกัน ฟรี
  • สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ต ระบบปฏิบัติการ Windows,Mac OS X, GNU/Linux ฯลฯ ต้องมีเว็บเบราว์เซอร์ในการรันเว็บไซต์ Google Docs ด้วย เช่น Internet Explorer , Microsoft Edge , Opera , Firefox , Safari และแนะนำอย่างยิ่งที่สุดคือ Chrome เพราะ Chrome จะมีปลั๊กอินบางส่วนเข้ากับการทำงานของ Google Docs ได้
  • ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผ่านทางช่องทางใดทางหนึ่ง เช่น Hi-Speed Internet , Wi-Fi , 3G , 4G
  • อุปกรณ์ Mobile Device อื่นๆ ทั้งบน iOS อย่างเช่น iPhone , iPod Touch , iPad และ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการ Android ทุกรุ่น  ซึ่งคุณสามารถโหลดแอพที่เกี่ยวข้องกับ Google docs ได้ฟรี เช่น Google Docs , Google , Sheet Google Slide ได้ทาง App Store และ Play Store ซึ่งตัวแอพจะออกแบบเข้ากับมือถือ iOS และ Android ให้คุณพิมพ์งานได้สะดวกยิ่งขึ้น

วิธีการใช้งานเว็บ Google Docs อย่างรวดเร็ว

กรณีใช้คอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ( iOS , Android , Linux , Chromebook )

  • เข้า Google Docs ที่ http://docs.google.com เพื่อพิมพ์งานทั่วไป แก้ไขเอกสาร  ( คล้ายกับ Microsoft Words )
  • เข้า Google Sheets ที่  http://sheets.google.com  เพื่อแก้ไขเอกสารแบบตารางคำนวณ หรือไฟล์พวก excel ( คล้ายกับ Microsoft Excel )
  • เข้า Google Slides ที่ http://slides.google.com เพื่อสร้างสไลด์ นำเสนองาน ( ใช้ทดแทน หรือร่วมกับ PowerPoint ได้ )

google-docs-2015-p01

แล้วทำการ Sign in ด้วยบัญชี Google เพื่อเข้าสู่หน้าพื้นที่ทำงานของตัวเอง ในตัวอย่างนี้จะเป็นของ Google Docs โดยจะโหลดเอกสารทั้งพวก Word หรือ Google Docs เองที่อยู่บน Google Drive  มาปรากฏในหน้าของ Google Docs ด้วย แต่ถ้าต้องการสร้างเอกสารเพื่อเริ่มต้นพิมพ์งานใหม่ ก็แตะที่ไอคอน + บริเวณ มุมขวาล่างของหน้าเว็บไซต์

google-docs-2015-p02

จะเข้าสู่หน้าจอทำงานของ Google Docs หน้าตาก็คล้ายคลึงกันกับ Word  คุณสามารถพิมพ์งานใส่ภาพได้ตามต้องการ  เมื่อพิมพ์เสร็จก็ปิดหน้าต่างทันทีโดยไม่ต้องบันทึก เพราะ Google Docs บันทึกโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

google-docs-2015-p03

และยังสามารถเปิดงานนี้เพื่อแก้ไขต่อ ทั้งบนคอมพิวเตอร์ และทางแอพ Google Docs บนโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต iOS และ Android ต่อได้เลย

นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆในการใช้ Google Docs ที่ท่านสามารถใช้งานได้ฟรี แม้เครื่องคอมของคุณหรือเครื่องอื่นอาจไม่มีโปรแกรม Microsoft Office ก็สามารถใช้ Google Docs ในการพิมพ์งานได้ง่าย และทำได้ทุกที่ทุกเวลา บนทุกอุปกรณ์จริงๆ